การอ่านทำนองเสนาะ โคลงสี่สุภาพ จากเรื่องลิลิตพระลอ
Автор: Manisara
Загружено: 2023-04-24
Просмотров: 18472
Описание:
ลักษณะบังคับของโคลงสี่สุภาพ
1. คณะ
โคลงสี่สุภาพ 1 บทมี 4 บาท โดย 1 บรรทัดคือ 1 บาท แต่ละบาทมี 2 วรรค
บาทที่ 1 บาทที่ 2 และบาทที่ 3 มีจำนวนคำเท่ากัน คือ วรรคหน้ามี 5 คำ ส่วนวรรคหลังมี 2 คำ
บาทที่ 4 วรรคหน้ามี 5 คำเช่นกัน แต่วรรคหลังจะมี 4 คำ
รวมทั้งสิ้น 1 บทจะมี 30 คำ
2. คำสร้อย
คำสร้อย คือคำที่แต่งท้ายบาทของโคลงตามข้อบังคับ เพื่อทำให้ได้ใจความครบถ้วน ถ้าโคลงบาทใดได้ความครบถ้วนแล้ว ก็ไม่ต้องเติมคำสร้อย
ตำแหน่งที่กำหนดให้เติมคำสร้อยคือ ท้ายบาทที่ 1 และท้ายบาทที่ 3
คำสร้อยต้องมีแห่งละ 2 คำเสมอ โดยคำแรกเป็นคำสุภาพที่ต้องการเสริมความให้สมบูรณ์ ส่วนคำหลังมักลงท้ายด้วยคำต่อไปนี้ “พ่อ แม่ พี่ รา แล เลย เอย นา นอ เนอ ฤๅ ฮา แฮ เฮย” และมีอีกคำหนึ่งที่พบในโคลงโบราณ คือคำว่า “บารนี” ซึ่งใช้คำสร้อยได้ครบพยางค์โดยไม่ต้องเติมคำอื่น
3. คำสัมผัส เอก โท และ คำตาย
โคลงสี่สุภาพบังคับรูปวรรณยุกต์ เอก โท คือ บังคับรูปวรรณยุกต์เอก 7 ตำแหน่ง รูปวรรณยุกต์โท 4 ตำแหน่ง (ตามแผนผัง)
ในการแต่งโคลงสี่สุภาพ บางครั้งเมื่อไม่สามารถหาคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอก หรือรูปวรรณยุกต์โทมาใช้ในที่บังคับวรรณยุกต์ตามแผนผังได้ จำเป็นต้องใช้คำ “เอกโทษ” หรือคำ “โทโทษ” คือ นำคำที่ต้องการใช้ไปเปลี่ยนให้เป็นรูปวรรณยุกต์เอก หรือโท แต่ถ้าไม่จำเป็นอย่างยิ่งแล้วก็ไม่ควรใช้ เพราะทำให้รูปคำเสีย และความหมายอาจเปลี่ยนไป
เช่น ใช้คำว่า “ข้า” แทนคำว่า “ฆ่า” เป็นต้น และในอีกกรณีหนึ่งคือ คำเอกและคำโทที่อยู่ติดกัน บางครั้งอาจสลับที่กันก็ได้
ในโคลงสี่สุภาพนั้น มีการใช้เสียง “คำตาย” แทนวรรณยุกต์เอกได้ทุกแห่งที่บังคับรูปวรรณยุกต์เอก ไม่ว่าคำตายนั้นๆ จะมีเสียงวรรณยุกต์ใด อาจเป็นคำตายเสียงเอก เช่น บาด จิต หรือคำตายเสียงโท เช่น วาด ภาพ หรือคำตายเสียงตรี เช่น พบ รัก เป็นต้น
เรียบเรียงโดย : อลงกรณ์ พลอยแก้ว
ที่มาเนื้อหา : TruePlookpanya
Повторяем попытку...

Доступные форматы для скачивания:
Скачать видео
-
Информация по загрузке: