อะอ้าว! งานเข้า "แก้สัญญาสัมปทานดาวเทียมไทยคม" อาจขัด"รัฐธรรมนูญ"
Автор: Everyday Echoes
Загружено: 2021-09-09
Просмотров: 22969
Описание:
ครม.ปรับสัญญาดาวเทียมไทยคม ให้อินทัชถือหุ้นมากกว่า 51% พร้อมตั้ง “วิษณุ” สอบปมสัมปทานดาวเทียม "เรืองไกร" ส่งหนังสือแจ้งเตือน "ประยุทธ์" ทบทวนมติ ครม.
แก้สัญญาสัมปทานดาวเทียมไทยคม อาจไม่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ หรือไม่
น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2564 ว่า ครม.เห็นชอบแนวทางการดำเนินการ
ตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ซึ่งบริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
และปัจจุบันชื่อบริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ได้รับสัมปทานโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ มีระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี จะสิ้นสุดสัญญาในวันที่ 10 กันยายน 2564
สำหรับแนวทางดำเนินการ ตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ มีรายละเอียด ดังนี้
1.กรณีการอนุมัติแก้ไขสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ (สัญญาฉบับที่ 5) เห็นควรให้ บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด(มหาชน) ถือหุ้นใน บริษัท ไทยคม จำกัด(มหาชน)
ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 51 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด และให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ดำเนินการแก้ไขสัญญาตามขั้นตอนของ พ.รบ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562
ทั้งนี้ เมื่อครั้งที่มีการแก้ไขสัญญาเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) ในปี 2547 ลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (ปัจจุบันคือ บมจ. อินทัช โฮลดิ้งส์)
ในบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) จากไม่น้อยกว่าร้อย 51 เป็นไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ซึ่งต่อมาศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำวินิจฉัยว่า
เป็นการกระทำที่เอื้อประโยชน์ให้แก่ บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น และ บริษัท ไทยคม ผู้รับสัมปทานจากรัฐโดยไม่สมควร การที่สัญญาหลักระบุให้บริษัทต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51
ของจำนวนหุ้นทั้งหมด เป็นไปเพื่อให้บริษัทคู่สัญญา มีอำนาจควบคุมการบริหารจัดการอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด จะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นคง ในการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมของรัฐ
2.กรณีการอนุมัติโครงการดาวเทียมไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) เห็นควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญา โดยกำหนดให้ดาวเทียมไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) ผนวกเข้ามาเป็นดาวเทียมภายใต้สัญญา
และดำเนินการแก้ไขสัญญาตามขั้นตอนของ พระราชบัญญัติการการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562
3.ครม.เห็นชอบให้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ดำเนินการตั้งคณะทำงาน ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงถึงการดำเนินการที่ผ่านมา ว่าเกิดความเสียหายอย่างไรบ้าง
พร้อมทั้งกำหนดแนวทางแก้ไขและผู้รับผิดชอบ เพื่อเสนอ ครม. พิจารณาต่อไป
ล่าสุด นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตกรรมาธิการ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2565 เปิดเผยว่า ในฐานะที่เคยตรวจสอบเรื่องเดิม
เกี่ยวกับสัมปทานดาวเทียม ซึ่งหลายคดีที่เกิดขึ้นในอดีต เป็นการทุจริตเชิงนโยบาย มติ ครม.เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2564 การแก้สัญญาสัมปทานดาวเทียมไทยคม อาจไม่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ
ใน 2 กรณี ประกอบด้วย
1.กรณีการแก้ไขสัญญา ดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ (สัญญาฉบับที่ 5) ครม.เห็นชอบให้ บมจ.อินทัช โฮลดิ้งส์ ถือหุ้นใน บมจ.ไทยคม ไม่ต่ำกว่า 51% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด
และให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ดำเนินการแก้ไขสัญญาตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562
และ 2.กรณีดาวเทียมไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) ครม.เห็นชอบให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญา โดยกำหนดให้ดาวเทียมไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) ผนวกเข้ามาเป็นดาวเทียมภายใต้สัญญา
ทั้งนี้ ให้ดำเนินการแก้ไขสัญญาตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562
นายเรืองไกร กล่าวว่า มติ ครม.ดังกล่าว จะต้องปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553
(และที่แก้ไขเพิ่มเติม) พระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 และรัฐธรรมนูญ 2560 มาตราที่เกี่ยวข้อง ด้วย
แต่จากการพิจารณาศึกษาข้อกฎหมาย และบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้อง มีประเด็นว่า มติ ครม.อาจขัดต่อกฎหมายและรัฐธรรมนูญ และมติ ครม.ดังกล่าวซึ่งมิใช่กฎหมาย
การอาศัยเพียงประกาศของคณะกรรมการ กสทช. อาจหาเพียงพอไม่ มติ ครม.ครั้งนี้ ยังอาจส่อไปในทางเป็นการขัดกัน ระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม
ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ป.ป.ช. 2562 หมวด 6 อีกด้วย
นายเรืองไกร กล่าวอีกว่า เพื่อให้มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายและรัฐธรรมนูญ ไม่ผิดพลาดเหมือนรัฐบาลในอดีต ซึ่งรัฐมนตรีบางคนในรัฐบาลชุดนี้
เคยร่วมกระทำผิดจนตกเป็นจำเลยมาแล้ว กรณีจึงมีเหตุที่ควรแจ้งเตือนนายกรัฐมนตรี ให้ทราบ อีกทั้งเรื่องนี้ มีรายละเอียดมาก ความไม่รอบคอบ และเร่งรีบ อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐตามมาได้
จึงได้ส่งหนังสือทางไปรษณีย์ EMS ถึงนายกฯ เพื่อขอให้พิจารณาโดยละเอียดรอบคอบก่อน ว่า มติ ครม.วันที่ 7 กันยายน 2564 เกี่ยวกับการแก้สัญญาสัมปทานดาวเทียมไทยคมนั้น
ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ หรือไม่
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก โพสต์ทูเดย์
https://www.posttoday.com/economy/new...
https://www.posttoday.com/politic/new...
#เรื่องเล่าข่าวเด็ด
#ดาวเทียมไทยคม
#รัฐธรรมนูญ
เรื่องเล่า ข่าวเด็ด
Повторяем попытку...

Доступные форматы для скачивания:
Скачать видео
-
Информация по загрузке: