8 เรื่องการเงินที่ต้องเจอในปี 2025 | โอ้เอ้มันนี่
Автор: OhAeWay
Загружено: 2025-01-01
Просмотров: 330
Описание:
00:00 เริ่ม
00:09 1. เงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคม ปรับจาก 800 เป็น 1000
00:30 2. 30 บาทรักษาทุกที่ครอบคลุมทั่วไทย เริ่ม 1 ม.ค. 68
01:01 3. โครงการคุณสู้เราช่วย ลงทะเบียนถึงวันที่ 28 ก.พ. 68
01:55 4. ของขวัญปีใหม่ จากธนาคารสำหรับลูกค้า ผ่อนดี
02:34 5. Easy E-Receipt 2.0
03:59 6. แจกเงิน 10,000 บาท ผู้สูงอายุ
04:39 7. สมรสเท่าเทียมมีผลบังคับใช้ 22 ม.ค. 68
05:53 8. ภาษีเงินได้ต่างประเทศ
1. เงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคม ปรับจาก 800 เป็น 1000
ปรับการเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตร จากอัตราที่จ่ายในปัจจุบัน 800 บาท/เดือน เป็น 1,000 บาท/เดือน ต่อบุตร 1 คน คราวละไม่เกิน 3 คน ตั้งแต่งวดเดือนมกราคม 2568 เป็นต้นไป สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39
2. 30 บาทรักษาทุกที่ครอบคลุมทั่วไทย เริ่ม 1 ม.ค. 68
ล่าสุด App ทางรัฐ ก็สามารถยืนยันการใช้สิทธิ ค้นหาหน่วยบริการในระบบ และบริการข้อมูลสุขภาพได้ด้วย
ส่วนตัวคิดว่าเป็นโครงการที่ดีที่จะช่วยลดรายจ่ายทางสุขภาพของคนที่มีสิทธิ์บัตรทอง ที่ไม่ว่าจะอยู่จังหวัดไหน ก็สามารถใช้สิทธิ์ได้
3. โครงการคุณสู้เราช่วย ลงทะเบียนถึงวันที่ 28 ก.พ. 68
จะแบ่งเป็น 2 มาตรการ คือ
1. มาตรการจ่ายตรง-คงทรัพย์
สำหรับลูกหนี้ที่เคยมีประวัติค้างชำระ ช่วยลดค่างวด และนำค่างวดไปตัดต้นทั้งหมดโดยไม่เก็บดอกเบี้ย 3 ปี หากทำตามเงื่อนไข
2. มาตรการจ่าย-ปิด-จบ
สำหรับลูกหนี้ที่เคยมีประวัติค้างชำระไม่เกิน 5,000 บาท/บัญชี และมีสถานะบัญชี ณ 31 ต.ค. 67 ค้างเกิน 90 วัน
รายละเอียดต่างๆ สามารถติดต่อ สายด่วนแบงก์ชาติ โทร 1213 หรือสอบถามกับสาขาของเจ้าหนี้ หรือ call center ของเจ้าหนี้ กดเบอร์ call center แล้วกด 99
4. ของขวัญปีใหม่ จากธนาคารสำหรับลูกค้า ผ่อนดี
แต่สำหรับลูกหนี้จ่ายดีจ่ายตรง ไม่เคยปรับโครงสร้างหนี้ ก็ยังมีของขวัญปีใหม่จาก 2 ธนาคาร คือ
ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ผ่อนดี 48 เดือน รับเงินคืน 1,000 บาท สำหรับลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ วงเงินกู้สินเชื่อบ้านไม่เกิน 2 ล้านบาท
ธนาคารออมสิน
สำหรับลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 2 แสนบาท ประวัติชำระหนี้ดีติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 ปี
โดยกดรับสิทธิ์ผ่าน App Mymo ภายใน 31 ม.ค. 68
เงื่อนไขการรับสิทธิ์ต่างๆ หรือรายละเอียดอื่นๆ สามารถสอบถามแต่ละธนาคารได้เลย
5. Easy E-Receipt 2.0
ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถนำค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2568 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568 ได้สูงสุด 50,000 บาท โดยนำ e-Tax Invoice เต็มรูปแบบ หรือ e-Receipt มาใช้ลดหย่อนภาษีสำหรับปีภาษี 2568 ได้
โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน
1. ใช้ซื้อสินค้าหรือบริการทั่วไป ลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุด 30,000 บาท
2. ใช้ซื้อสินค้าหรือบริการจาก OTOP, วิสาหกิจชุมชน หรือวิสาหกิจเพื่อสังคม ลดหย่อนเพิ่มจากข้อ 1 ได้ตามจริง สูงสุด 20,000 บาท
แต่หากเราจะซื้อสินค้าหรือบริการจาก OTOP, วิสาหกิจชุมชน หรือวิสาหกิจเพื่อสังคม ทั้ง 50,000 บาทเลยก็ได้
และจะลดภาษีได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับฐานภาษีของเรา ถ้าเราฐานภาษี 5% ซื้อของเต็ม Max 50,000 บาท ก็จะลดภาษีได้ 2,500 บาท ดังนั้นถ้าเราใช้สิทธิตามความจำเป็นที่เราต้องซื้อของนั้นอยู่แล้วก็จะคุ้มที่สุด ถ้าไม่จำเป็นต้องซื้อก็ไม่ต้องใช้สิทธิ์ก็ได้ จ่ายภาษีคุ้มกว่า
6. แจกเงิน 10,000 บาท ผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่ได้ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชั่นทางรัฐ จำนวน 4 ล้านคน ที่มีเงินได้ไม่เกิน 840,000 บาทต่อปี และเงินฝากไม่เกิน 500,000 บาท จะได้รับเงินสดจำนวน 10,000 บาท ผ่านบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขบัตรประชาชน โดยรัฐจะเร่งจ่ายเงินครั้งแรกภายในเดือน ม.ค. 68
7. สมรสเท่าเทียมมีผลบังคับใช้ 22 ม.ค. 68
ซึ่งจะทำให้คู่สมรสไม่จำเป็นต้องเป็นแค่ชายกับหญิงเท่านั้น ทำให้บุคคลนั้นมีสิทธิ หน้าที่สถานะทางครอบครัว เท่าเทียมกับคู่สมรสที่เป็นชายและหญิง ทั้งสิทธิการหมั้น การสมรส สิทธิการจัดการทรัพย์สินของคู่สมรส สิทธิได้รับประโยชน์และสวัสดิการจากรัฐในฐานะคู่สมรส สิทธิการลงนามยินยอมให้รักษาพยาบาลอีกฝ่าย เป็นต้น
8. ภาษีเงินได้ต่างประเทศ
ตั้งแต่ 1 ม.ค. 67 หากมีรายได้จากต่างประเทศ เช่น รายได้จากการทำงาน เงินปันผล กำไรจากการขายหุ้น เป็นต้น กรณีที่ต้องเสียภาษีในไทย จะต้องเข้าเงื่อนไข 2 ข้อ (ต้องมีทั้ง 2 ข้อ) คือ
1. นำเงินได้จากต่างประเทศกลับไทย และ
2. อยู่ไทยเกิน 180 วัน ในปีภาษีนั้น
ถ้านำเงินได้กลับไทยแต่อยู่ไทยไม่ถึง 180 วัน หรือว่าอีกกรณี
อยู่ไทยเกิน 180 วัน แต่ยังไม่ได้นำเงินกลับไทย ก็ไม่ต้องเสียภาษีนั่นเอง
และหากนำเงินได้กลับเข้าไทยปีไหน ต้องเสียภาษีปีนั้น โดยนำเงินได้มารวมยื่นแบบภาษีเงินได้ ถ้าเป็นบุคคลธรรมดา ซึ่งเป็นแบบขั้นบันได 5-35%
แต่ในกรณีที่เงินได้นั้นถูกหักภาษีที่ต่างประเทศแล้ว หากเป็นประเทศที่มีอนุสัญญาภาษีซ้อน ที่เป็นการตกลงกันระหว่างไทยกับประเทศนั้นว่าจะไม่เก็บภาษีซ้ำซ้อนกัน หากเก็บที่ประเทศนั้นแล้วก็จะไม่เก็บที่ไทยหรือได้รับเครดิตภาษี
สำหรับเพื่อนๆ ที่อยากลงทุนต่างประเทศแต่ไม่อยากกังวลเรื่องภาษีเงินได้ต่างประเทศ เราอาจจะเลือกลงทุนในกองทุนรวม หรือ DR, DRx ก็ได้ จะไม่ต้องเสียภาษีในส่วนนี้
ถ้าเพื่อนๆ มีเรื่องการเงินที่ต้องเจอในปี 2025 เรื่องไหนเพิ่มเติม คอมเม้นท์บอกกันได้นะ
#เงิน #การเงิน #money #โอ้เอ้มันนี่ #OhAeWay
Youtube: / @ohaeway
Facebook: / ohaeway
TikTok: / ohaeway
X: https://x.com/OhAeWay
Повторяем попытку...

Доступные форматы для скачивания:
Скачать видео
-
Информация по загрузке: